สะพานเครื่องหนุนลอย T 79 A



เป็นสะพานเครื่องหนุนลอยที่มีขีดความสามารถในการประกอบสร้าง ได้หลายรูปแบบ อาทิ สร้างเป็นสะพานเครื่องหนุนลอยรับน้ำหนัก 20 ตัน และ 60 ตัน หรือ จะสะสร้างเป็นแพส่งข้ามรับน้ำหนัก 40 ตัน , 60 ตัน และ 110 ตัน  ในการส่งข้ามลำน้ำที่มีความเร็วของกระแสน้ำไม่เกิน 2.5 m/s  โดยใช้กำลังพลจำนวนน้อยในการสร้างและสามารถสร้างได้รวดเร็ว

 

จังหวะการปล่อยทิ้งทุ่น ต้องให้ระดับน้ำท่วมล้อหลัง 1/3


ด้วยความสามารถในการรับน้ำหนักแผ่ 20 ตัน/ทุ่น สามารถจะนำไปเป็น ศูนย์บัญชาการลอยน้ำ, ตำบลส่งกำลัง , ห้องพยาบาลลอยน้ำ ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยได้


วิธีการปล่อยทุ่น


1.ใช้ รยบ.สะพาน ในการปล่อยทิ้งทุ่น โดยอาศัยหลักการของแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งมีข้อพิจารณาดังนี้

    - ความลาดชันของตลิ่ง ไม่น้อยกว่า 10 % แต่ไม่เกิน 18 %
    - ความลึกของน้ำในการปล่อยทิ้งทุ่นไม่น้อยกว่า 2 ม.
    - หากความลาดชันของตลิ่ง น้อยกว่า 10 %  ต้องใช้แรงกระชากของรถในการเดินหน้า เพื่อช่วยในการปล่อยทิ้งทุ่น

2.ในกรณีที่พื้นที่ไม่อำนวย ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด  เราสามารถจะใช้ รถปั้นจั่นช่วย ยกตัวทุ่นวางและกางบนน้ำได้ โดย ต้องมีความลึกของน้ำไม่ต่ำกว่า 70 ซม.

     กรณีที่ทุ่นไม่กางออกหลังจากทิ้งทุ่นลงน้ำไปแล้ว เนื่องจากความฝืดของรอยต่อพับทุ่น ,ไม่ได้ปลดสลักปล่อยทุ่นหรือเนื่องจากทิ้งทุ่นในน้ำตื้น ให้ใช้เชือกดึงตัวทุ่นให้กางออกได้ เว้นกรณีที่เกิดจากการขัดของสมอน้ำที่รอยต่อพับทุ่นให้ใช้เครนที่ รยบ.สะพานช่วยยกเพื่อให้ตัวทุ่นคลายตัว แล้วนำสมอน้ำที่ขัดออก และใช้เชือกดึงตัวทุ่นให้กางออกได้

ขีดความสามารถ


สามารถสร้างได้ 5 รูปแบบ


1. สร้างเป็นแพส่งข้ามชั้น 40 ได้ จำนวน 7 แพ
      - ความกว้างจราจร 6.58 ม.
      - ความยาวบรรทุก 7.5 ม.


2. สร้างแพส่งข้ามชั้น 60 ได้ จำนวน 4 แพ
      - กว้างจราจร 6.58 ม.
    - ความยาวบรรทุก 14.2 ม.


3. สร้างแพชั้น 110 ได้ 2 แพ
     - กว้างจราจร 6.58 ม.
     - ความยาวบรรทุก 33.2 ม.


4.สร้างเป็นสะพานเครื่องหนุนลอย ชั้น 60 ความยาว 109 ม. กว้างจราจร 6.58 ม.


5. สร้างเป็นสะพานเครื่องหนุนลอย ชั้น 20 ความยาว 170 ม. กว้างจราจร 3.26 ม.




///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น