กำลังพล


แผนกวิชาคมนาคมมีหน้าที่

1.ดำเนินการสอนวิชาคมนาคมตามหลักสูตรและนโยบายที่ได้รับมอบจากโรงเรียนทหารช่าง
2.ค้นคว้าและปรับปรุงเพื่อพัฒนาวิชาคมนาคมของทหารช่างให้ทันสมัย
3.บันทึกและรายงานสถิติผลงานตามหน้าที่



 


 


//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

สะพาน M 4



เป็นสะพานที่มีชิ้นส่วน น้ำหนักเบา ส่วนประกอบของสะพานสามารถยกได้โดยคน 2คน ได้  ปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างเป็น สะพานเครื่องหนุนมั่นเมื่อต้องข้ามช่องแคบที่มีความกว้างไม่เกิน 13.5 ม. ในช่วงเดียว  หรือสามารถสร้างต่อกันเป็นช่วงๆได้ โดยอาศัยตอม่อรายทาง ซึ่งมีข้อจำกัดความสูงของจากท้องพื้นถึงตัวสะพานต้องไม่เกิน   2.5     ม. สามารถรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 24 ตัน   ถึง  125 ตัน . แล้วแต่ความยาวของการสร้างสะพานซึ่งสามารถสร้างได้ในระยะทอดเดียวตั้งแต่  4.5 ม.   ถึง  13.5 ม.   โดยมีความกว้างจราจร    3.9  ม.     นอกจากนี้ยังสามารถ  สามารถประกอบสร้างเป็นแพรับน้ำหนักได้  55  ตัน และ สามารถประกอบสร้างเป็นสะพานเครื่องหนุนลอยได้ 60 ตัน ความยาว    47.7    ม. ซึ่งมีความกว้างจราจร  3.9    ม.   สำหรับชิ้นส่วนของสะพาน M4 นี้ ชิ้นส่วนที่เป็นตัวพื้นสะพานทำจาก อลูมิเนียม  ข้างในกลวง สามารถลอยน้ำได้ ส่วนประกอบสะพาน M4 ที่เป็นเรือทุ่น,คานและสลักยึด จะทำด้วยโลหะผสม

วิธีการสร้างสะพาน M 4


กรณีที่ 1 โดยใช้กำลังพลในการสร้างอย่างเดียวในกรณีนี้เราสามารถสร้างได้โดยไม่จำกัดพื้นที่ ในการเข้าถึงเพราะอุปกรณ์สามารถยกได้ด้วยคน ๒  คน


กรณีที่ 2 ใช้คนประกอบกับเครื่องจักรในการสร้าง เช่น รถโกยตัก หรือ รถปั้นจั่น ก็ได้   วิธีการ หาพื้นที่ว่างในการวางตง โดยประกอบสร้างในลักษณะตงมูลฐานให้สมบูรณ์ เสร็จแล้วใช้เครื่องจักรยกตงมูลฐานวางคร่อมกับทางที่ขาด   หลังจากนั้นก็วางตงที่เหลือโดยใช้กำลังพลในการยก

ตลิ่งฝั่งไกลและฝั่งใกล้ต้องมีความแข็งแรง และไม่อยู่ในสภาวะน้ำกัดเซาะตลิ่งรุนแรง หากเลี่ยงไม่ได้ให้ตอกเข็มแผ่เพื่อเสริมความแข็งแรงตลิ่ง



เราสามารถประยุกต์ใช้ตงทำสะพานหนุนลอยให้คนเดินได้โดยไม่ต้องใช้ทุ่นหนุนรอง  ทั้งนี้เนื่องจากตงของสะพาน ทำด้วยอลูมิเนียมสามารถลอยน้ำได้  แต่เนื่องจากตงต้องวางบนคาน(ซึ่งมีน้ำหนักมาก)จึงทำให้ต้องวางอย่างน้อย  ๕  ตง จึงจะสามารถรับน้ำหนักของคานและคนที่เดินบนสะพานได้

ขีดความสามารถ


1.ประกอบสร้างเป็นสะพานเครื่องหนุนลอย ยาว 47.7 ม. รับความกว้างจราจร 3.9 ม.รับน้ำหนักได้ 60 ตัน โดยใช้เรือทุ่นโลหะผสมหนุนเป็นทุ่นลอยน้ำ จำนวน 24 ลำ


2.ประกอบสร้างเป็นแพ ยาว 28.8 ม. รับความกว้างจราจร 3.8 ม.รับน้ำหนักได้ 50T/55W ตัน โดยใช้เรือทุ่นโลหะผสมหนุนเป็นทุ่นลอยน้ำ จำนวน 14 ลำ ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เรือ 55 hp 3-7 เครื่อง


3.ประกอบสร้างเป็นสะพานเครื่องหนุนมั่นวางช่วงทอดเดียว ยาว 4.5-13.5 ม. รับความกว้างจราจร 3.9 ม.น้ำหนักได้ 24-125 ตัน หรือจะวางเป็นช่วงๆได้โดยใช้ตอม่อรายทาง โดยมีความสูงจากท้องพื้นน้ำถึงตัวสะพานไม่เกิน 2.5 ม.


ตัวอย่างการวางตงในแบบต่างๆ





////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

สะพานเครื่องหนุนมั่น เบลี M 2



   เป็นสะพานโครงแผงเหล็ก ยาว 10 ฟุต/แผงวางต่อๆกัน พาดบนเครื่องรองรับ และมีคานเหล็กยึดอยู่บนส่วนล่างของโครงแผง มีตงเหล็กวางบนคาน พื้นไม้ สามารถรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 4-85 ตัน ในระยะทอด ไม่เกิน 170 ฟุต( 51.82 m. )
   สะพานชนิดนี้เป็นสะพานนอกจากจะมีใช้ใน ทบ. แล้ว หน่วยงานภาครัฐอื่น เช่น กรมทางหลวง , กรมบรรเทาสาธารณภัย ยังมีใช้อยู่

การใช้เครื่องจักรช่วยยกต่อโครงแผง


ลูกกลิ้งเลื่อนคาน  ( Transom roller ) ทั้ง 2 ตัว ต้องวางให้ได้ระดับเท่ากันในพื้นที่ตั้งที่แข็งแรง

ตัวสะพานสามารถสร้างต่อด้านหัวและด้านท้ายสะพานได้ 


วิธีการประกอบสร้าง


     1.ใช้กำลังพลในการสร้างโดยการยกชิ้นส่วนสะพานประกอบสร้างเป็นโครงแล้วดันตัวโครงไปบนลูกกลิ้งเลื่อนคาน  ( Transom roller ) และลูกกลิ้งรายทาง ( plain roller ) เมื่อสะพานถึงฝั่งไกลแล้วถึงจะทำการวางชิ้นส่วนสะพานในส่วนอื่นๆจนเสร็จ ซึ่งในกรณีนี้ความเร็วในการสร้างสะพานจะสัมพันธ์กับความชำนาญและจำนวนแรงงานที่ใช้ในการสร้าง 

     2.ใช้กำลังพลกับเครื่องจักรในการสร้าง     ซึ่งเครื่องจักรได้แก่  รถโกยตัก หรือ รถปั่นจั่น โดยการสร้างจะใช้เครื่องจักรยกชิ้นส่วนสะพานมาวางบนลูกกลิ้ง เลื่อนคาน  ( Transom roller ) และลูกกลิ้งรายทาง ( plain roller) ซึ่ง จะช่วยในการประกอบได้อย่างรวดเร็ว เสร็จแล้ว ดันตัวโครงไปบนลูกกลิ้ง เมื่อสะพานถึงฝั่งไกล แล้วจึงค่อยวางชิ้นส่วนอื่นๆ  จนเสร็จ

ขีดความสามารถ


สำหรับสะพานเบลี ที่แจกจ่ายหน่วย ช.สามารถจะประกอบสร้างได้ 3 รูปแบบ ดังนี้


1. การสร้างแบบ โครงเดี่ยว-ชั้นเดียว  single-truss,single-story ( SS )รับนน.ได้ 8-30 ตันมีความกว้างจราจร 150 นิ้ว ( 3.81 ม.) ยาว 30-100 ฟุต


2. การสร้างแบบ โครงคู่-ชั้นเดียว  double-truss,single-story ( DS )รับนน.ได้ 8-75 ตันมีความกว้างจราจร ( 3.81 ม.) ยาว 50-140  ฟุต.


3. การสร้างแบบ โครงสาม-ชั้นเดียว  Triple-truss,single-story ( TS )รับนน.ได้ 4-85 ตันมีความกว้างจราจร ( 3.81 ม.) ยาว 80-170 ฟุต.


โครงแผง ( panel) ของสะพาน เบลี m2 เป็นส่วนสำคัญในการรับน้ำหนักตัวสะพานและน้ำหนักบรรทุก

ตารางแสดงการรับน้ำหนักของรูปแบบการสร้างสะพาน เบลี M2 ในความยาวระยะต่างๆ


//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

สะพาน MGB



   เป็นสะพานที่มีประจำการใน ทบ.ไทย ที่มีขีดความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุก เมื่อเทียบกับความยาวในการประกอบสร้าง ทั้งในรูปแบบ สะพานเครื่องหนุนมั่น หรือ สะพานเครื่องหนุนลอยแล้ว สะพาน MGB ถือว่าเป็นสะพานที่มีขีดความสามารถในการรับน้ำหนักดีที่สุดในการประกอบสร้างในช่วงความยาวที่เท่ากัน   ชิ้นส่วนของสะพานทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สังกะสี , แมกนีเซียม ,อัลลอย และ อลูมิเนียม  ชิ้นม่วนที่หนักที่สุดไม่เกิน 200 kg.   ซึ่งในรูปแบบการประกอบสร้างของสะพาน MGB ใน 1 ชุด สามารถประกอบสร้างได้หลายรูปแบบ


ข้อจำกัดการสร้าง
   - ตลิ่งฝั่งไกลและฝั่งใกล้ ต้องมีความแข็งแรง และไม่อยู่ในสภาวะน้ำกัดเซาะตลิ่งรุนแรง หากหลีก
เลี่ยงไม่ได้ให้ตอกเข็มแผ่ เพื่อเสริมความแข็งแรงตลิ่ง



การขนย้าย


1.ขนย้ายโดยยานยนต์ ส่วนใหญ่ใช้ในงานบรรเทาสาธารณภัย


2.ขนย้ายโดยยานยนต์ บรรทุกบนรถพ่วง โดย ชิ้นส่วนสะพานวางบน  แผ่นรองยกสำเร็จ ( pallet )        สามารถพ่วงในยานยนต์ล้อและรสพ.ได้



ขีดความสามารถ สามารถสร้างได้ 4 รูปแบบ


กรณีที่ 1 
สะพานเครื่องหนุนลอยแบบโครงสองชั้น รับน้ำหนัก ได้ชั้น 70 ยาว 200 ม. ได้ 1 สะพาน


กรณีที่
แพส่งข้ามขับเคลื่อนด้วยตัวเอง รับน้ำหนักชั้น 60 จำนวน 3 แพ และ สะพานเครื่องหนุนมั่นรับน้ำหนักไม่เกินชั้น 60  ยาวไม่เกิน  49.4 ม. ได้อีก 2 สะพาน

สะพานเครื่องหนุนมั่น และ สะพานเครื่องหนุนลอย สร้างได้ 2 สะพาน เนื่องจาก สะพานMGB ใน1 ชุดจะมี คานตลิ่ง ( BANK SEAT BEAM ) เพียง 4 ตัว 

กรณีที่
สะพานเครื่องหนุนลอยแบบโครงสองชั้น รับน้ำหนัก ได้ชั้น 70 ยาว 150 ม. ได้ 1 สะพาน  และสะพานเครื่องหนุนมั่นแบบเสริมความแข็งแรง ยาว 49.4 ม. ได้อีก 1 สะพาน

กรณีที่
สะพานเครื่องหนุนลอยแบบโครงสองชั้น รับน้ำหนัก ได้ชั้น 70 ยาว 132 ม. ได้ 1 สะพาน  กับ สะพานเครื่องหนุนมั่นแบบเสริมความแข็งแรง ยาว 49.4 ม. ได้อีก 1 สะพาน และแพส่งข้ามขับเคลื่อนด้วยตัวเอ รับน้ำหนักชั้น 60 จำนวน 1 แพ



วัสดุที่ใช้ผลิตทำสะพาน MGB เป็นวัสดุเฉพาะ ไม่สามารถที่จะดัดแปลงนำวัสดุอื่นมาทดแทนได้

/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

สะพานเครื่องหนุนลอย T 79 A



เป็นสะพานเครื่องหนุนลอยที่มีขีดความสามารถในการประกอบสร้าง ได้หลายรูปแบบ อาทิ สร้างเป็นสะพานเครื่องหนุนลอยรับน้ำหนัก 20 ตัน และ 60 ตัน หรือ จะสะสร้างเป็นแพส่งข้ามรับน้ำหนัก 40 ตัน , 60 ตัน และ 110 ตัน  ในการส่งข้ามลำน้ำที่มีความเร็วของกระแสน้ำไม่เกิน 2.5 m/s  โดยใช้กำลังพลจำนวนน้อยในการสร้างและสามารถสร้างได้รวดเร็ว

 

จังหวะการปล่อยทิ้งทุ่น ต้องให้ระดับน้ำท่วมล้อหลัง 1/3


ด้วยความสามารถในการรับน้ำหนักแผ่ 20 ตัน/ทุ่น สามารถจะนำไปเป็น ศูนย์บัญชาการลอยน้ำ, ตำบลส่งกำลัง , ห้องพยาบาลลอยน้ำ ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยได้


วิธีการปล่อยทุ่น


1.ใช้ รยบ.สะพาน ในการปล่อยทิ้งทุ่น โดยอาศัยหลักการของแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งมีข้อพิจารณาดังนี้

    - ความลาดชันของตลิ่ง ไม่น้อยกว่า 10 % แต่ไม่เกิน 18 %
    - ความลึกของน้ำในการปล่อยทิ้งทุ่นไม่น้อยกว่า 2 ม.
    - หากความลาดชันของตลิ่ง น้อยกว่า 10 %  ต้องใช้แรงกระชากของรถในการเดินหน้า เพื่อช่วยในการปล่อยทิ้งทุ่น

2.ในกรณีที่พื้นที่ไม่อำนวย ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด  เราสามารถจะใช้ รถปั้นจั่นช่วย ยกตัวทุ่นวางและกางบนน้ำได้ โดย ต้องมีความลึกของน้ำไม่ต่ำกว่า 70 ซม.

     กรณีที่ทุ่นไม่กางออกหลังจากทิ้งทุ่นลงน้ำไปแล้ว เนื่องจากความฝืดของรอยต่อพับทุ่น ,ไม่ได้ปลดสลักปล่อยทุ่นหรือเนื่องจากทิ้งทุ่นในน้ำตื้น ให้ใช้เชือกดึงตัวทุ่นให้กางออกได้ เว้นกรณีที่เกิดจากการขัดของสมอน้ำที่รอยต่อพับทุ่นให้ใช้เครนที่ รยบ.สะพานช่วยยกเพื่อให้ตัวทุ่นคลายตัว แล้วนำสมอน้ำที่ขัดออก และใช้เชือกดึงตัวทุ่นให้กางออกได้

ขีดความสามารถ


สามารถสร้างได้ 5 รูปแบบ


1. สร้างเป็นแพส่งข้ามชั้น 40 ได้ จำนวน 7 แพ
      - ความกว้างจราจร 6.58 ม.
      - ความยาวบรรทุก 7.5 ม.


2. สร้างแพส่งข้ามชั้น 60 ได้ จำนวน 4 แพ
      - กว้างจราจร 6.58 ม.
    - ความยาวบรรทุก 14.2 ม.


3. สร้างแพชั้น 110 ได้ 2 แพ
     - กว้างจราจร 6.58 ม.
     - ความยาวบรรทุก 33.2 ม.


4.สร้างเป็นสะพานเครื่องหนุนลอย ชั้น 60 ความยาว 109 ม. กว้างจราจร 6.58 ม.


5. สร้างเป็นสะพานเครื่องหนุนลอย ชั้น 20 ความยาว 170 ม. กว้างจราจร 3.26 ม.




///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////